เกิดมาไม่มีทั้งแขนและขา..มีแต่ตัวด้วน ๆ
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (3)
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้น สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (4)
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นที่เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 2 พุทธคุณ ๘ ประการ)
บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยคุณอันอุดมอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 114
ฝ่ายมโหสถบัณฑิตเมื่อได้รับข่าวจากทูตทหารเหล่านั้น จึงส่งข่าวตอบไปว่า “ขอ ท่านทั้งหลายอย่าได้วิตกกังวลไปเลย บัดนี้เราได้เตรียมการป้องกันพระนครไว้แล้วด้วยความไม่ประมาท ว่าแต่พวกท่าน เมื่อจะทำการใดๆก็จงระแวดระวังให้ดี อย่าให้ถูกจับได้ และจงอย่าประมาท เป็นเหตุให้เสียการ”
ศูนย์ปฏิบัติธรรมขุนยวม จัดพิธีบูชาข้าวพระ
ศูนย์ปฏิบัติธรรมขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ได้จัดพิธีบูชาข้าวพระ ออนไลน์ ผ่านะบบZoom
ลักษณะมหาบุรุษ (2)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (1)
ดูก่อนเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วอันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (2)
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงามที่พระอริยะสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย